ทัพเอกชนไทยลุยปักกิ่ง เปิดข้อเสนอหอการค้าไทย

วันที่ 21 ตุลาคม 2566 ในงานความร่วมมือของภาคเอกชนไทย-จีน ในงาน Thailand-China Investment Forum  “Thailand-China Private Sectro’s Econcmic Cooperation” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ของฝั่งไทย และ China Council for the Promotion International Trade (CCPIT) ฝั่งจีน

ทัพเอกชนไทยลุยปักกิ่ง เปิดข้อเสนอหอการค้าไทย “สนั่น” แนะเสริมความร่วมมือไทย-จีน ดึงลงทุนในอีอีซีเพิ่ม

วันที่ 21 ตุลาคม 2566 ในงานความร่วมมือของภาคเอกชนไทย-จีน ในงาน Thailand-China Investment Forum  “Thailand-China Private Sectro’s Econcmic Cooperation” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ของฝั่งไทย และ China Council for the Promotion International Trade (CCPIT) ฝั่งจีน

มีภาคเอกชนทั้งสองประเทศ Bank of China (BOC) เข้าร่วมเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ภาคเอกชนไทยมีนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนาย เกรียงไกร เธียรนุกุล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตัวแทนภาคเอกชน หลายคน อาทิ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธารอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร นายกอบศักดิ์ ภูตะกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO)

นายสนั่น ได้ขึ้นกล่าวถึงความร่วมมือทั้งสองประเทศ พร้อมข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทั้ง2 ประเทศ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ดังนี้

  1. ประเทศไทยพร้อมปรับปรุงกลไกความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนกับประเทศจีน โดยการจัดตั้งแพลตฟอร์มแบ่งปันข้อมูลทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน การก่อตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างธุรกิจ ในระดับภาคเอกชนของทั้ง 2ประเทศ ทั้งหอการค้าฯ สามาคมอุตสาหกรรมต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น
  2. ขยายการลงทุนของจีนใน EEC ของไทย โดยใช้กลไกขับเคลื่อนภายใต้ความร่วมมือ RCEP ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน การยกระดับความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขงและการเร่งผลักดันโครงการรถไฟไทย-ลาว-จีน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ใกล้ชิด และสอดคล้องกับข้อริเริ่ม Belt and Road Initiative (BRI) ของจีนด้วย
  3. เร่งเชื่อมโยงเส้นทางบก น้ำและอากาศ รวมถึงระบบโลจิสติกส์ และการอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งสินค้าไทยไปจีน
  4. ผลักดันการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ โดยที่ไทยได้ดำเนินนโยบาย Free visa ให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีน เพื่อฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  5. ขอความร่ววมมือให้ฝ่ายจีนอำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสินค้าไทยรวมทั้งการเปิดตลาดสินค้าให้กับสับปะรถปลอกเปลือก และทุเรียนตัดแต่งพร้อมบริโภค (Ready to Eat)
  6. การยกระดับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกัน ทั้งการส่งเสริมมหาวิทยาลัยทั้งไทย-จีน รวมถึง ดำเนินการฝึกอบรมร่วมกันให้มากขึ้น
  7. การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน โดยเฉพาะการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษระหว่างไทย-จีน และการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคอุตสาหกรรมในลักษณะ2 ประเทศ นิคมในอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนและเชื่อมโยง Supply Chain ซึงกันและกัน

หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะภาคเอกชนชั้นนำของประเทศ ได้ผลักดัน ขับเคลื่อน และฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยมาอย่างต่อเนื่องภาคใต้แนวคิด “Connect the dots” ที่เชื่อมโยงผสานการทำงานของเครือข่ายภาครัฐภาคเอกชน และประชาชน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

โดยให้ความสำคัญในการขับเคลื่อน 3 สาขาหลัก ได้แก่ การค้าการลงทุน เกษตรและอาหาร การท่องเที่ยวและบริการ ล้วนเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาและยกระดับของเศรษฐกิจไทย

ในเดือนเมษายนปี 2565 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ท่านดอน ปรมัถต์ วินัย ในขณะนั้น ได้นำคณะผู้แทนทางเศรษฐกิจเดินทางเยือน เมืองหวางซัง มณฑล อันฮุย เพื่อพบกับ ท่านหวังอี้ รัฐมนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีนในขณะนั้นเพื่อหารือเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยเฉพาะ สินค้าเกษตรและผลไม้จากไทยนำเข้าสู่ประเทศจีน จากการเยือนครั้งดังกล่าว ไทยได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากจีนอย่างดียิ่ง

นอกจากนี้ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ยังได้ร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ในการจัดทำการวิจัยในประเด็น สถานการณ์การลงทุนของจีนในไทย เพื่อวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์การลงทุนในปัจจุบัน รวมถึง ปัญหาและอุปสรรคของการลงทุนของจีนในไทย

ที่มา:
https://www.prachachat.net/economy/news-1420900