BOI เผยจีนแห่ลงทุน ธุรกิจแบตเตอรี่ในไทย คาดใช้เงินลงทุนเฟสแรกกว่า 30,000 ล้านบาท

วันนี้ (17 เม.ย. 2567) นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า จากการนำคณะเดินทางไปพบกับผู้บริหารของบริษัทผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำระดับโลกของจีน 7 รายได้แก่ CATL , CALB , BIT , Eve Energy , Gotion Higt-tech , Sunwoda และ SVOLT Energy Technology ระหว่างวันที่ 7-10 เม.ย. ที่ผ่านมา ณ มณฑลฝูเจี้ยน และ มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

บีโอไอ เผยผู้ผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำ ตอบรับมาตรการส่งเสริม การลงทุนผลิตเซลล์แบตเตอรี่ คาดปีนี้กลุ่มทุนอย่างน้อย 2 ราย ชัดเจนตั้งฐานผลิตในไทย คาดใช้เงินลงทุนเฟสแรกกว่า 30,000 ล้านบาท

วันนี้ (17 เม.ย. 2567) นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า จากการนำคณะเดินทางไปพบกับผู้บริหารของบริษัทผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำระดับโลกของจีน 7 รายได้แก่ CATL , CALB , BIT , Eve Energy , Gotion Higt-tech , Sunwoda และ SVOLT Energy Technology ระหว่างวันที่ 7-10 เม.ย. ที่ผ่านมา ณ มณฑลฝูเจี้ยน และ มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

พบว่าทุกบริษัทมองเห็นโอกาสทางธุรกิจในไทย และให้ความสนใจต่อมาตรการส่งเสริมเพื่อผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงานที่บีโอไอเพิ่งออกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการดึงให้ผู้ผลิตระดับโลกเข้ามาตั้งฐานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ใช้เทคโนโลยีและ องค์กรความรู้ด้านเคมีและวัสดุศาสตร์ชั้นสูง ใช้เงินลงทุนสูง และเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

โดยมาตรการนี้จะใช้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุนหลายด้านที่สำคัญต่อการตัดสินใจลงทุน ทั้งการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ และเงินสนับสนุนจากกองทุนเพิ่มขีดความสารมารถในการแข่งขันฯ เพื่อสนันสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนในการลงทุน การวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาบุคลากร

เลขาธิการอีโอไอกล่าวอีกว่า ผู้ผลิตแบตเตอรี่ทั้ง 7ราย มองว่าไทยมีจุดแข็งหลายด้าน โดยเฉพาะการที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่ชัดเจนและต่อเนื่อง จะทำให้มีความต้องการใช้เซลล์แบตเตอรี่จำนวนมากในอนาคต จะเห็นได้จากการตลาดยานยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด

ทั้งรถยนต์ BEV, PHEV และ HEV อีกทั้งภาครัฐมีมาตรการสนับสนุนครอบครุมไฟฟ้าทุกประเทภ ไม่ ว่าจะเป็นรถยนต์นั่งรถกระบะ ไปจนถึงรถบัส รถบันทุก และเรือไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดใหญ่เป็นส่วนประกอบ

นอกจากนี้อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนที่ส่งออกอย่างรวดเร็ว ทำให้การต้องการใช้แบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) เพิ่มสูงขึ้นมากในอนาคต ประกอบกับประเทศไทยมีความพร้อมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่รองรับการลงทุน บุคลากร และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ผู้ผลิตแบตเตอรี่จึงมองเห็นโอกาสที่จะเข้ามาผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในไทย และบางรายจะผลิตต่อเนื่องไป ถึงขั้นปลายคือ โมดูลและแพ็ค

“ปีนี้ คาดว่ามีผู้ผลิตรายใหญ่อย่างน้อย 2 ราย ที่มีความชัดเจนเข้ามาลงทุนผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ในไทย โดยในแต่ละรายจะมีกำลังการผลิตในเฟสแรกประมาณ 6-10 GWh มูลค่าการลงทุนเฟสแรกรวมกันกว่า 30,000 ล้านบาท สำหรับรายอื่นๆบางส่วนกำลังเจรจาธุรกิจกับผู้ร่วมทุน”

ทั้งนี้ที่ผ่านมาไทยประสบความสำเร็จในการดึงการลงทุนจากผู้นำรถยนต์ด้านไฟฟ้า ให้เข้ามาสร้างฐานผลิตในไทย แต่การผลักดันให้ไทยเป็นฐานรถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร แบตเตอรี่ถือเป็นหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะเซลล์ซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำของแบตเตอรี่ และเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพและระยะทางวิ่งของรถยนต์ไฟฟ้า

“ผลการตอบรับอย่างดีของผู้ผลิตเซลล์แบตเตอรี่ครั้งนี้ เชื่อว่าภายใน 2 ปีข้างหน้า ไทยจะมีโรงงานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ขนาดใหญ่เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะช่วยเติมเต็มซัพพลายเซนและทำให้อุสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยมีฐานที่มั่นคงในระยะยาว”

ปัจจุบันประเทศจีนเป็นผู้นำอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของโลก ผู้ผลิตแบตเตอรี่จากจีนมีส่วนแบ่งตลาดร่วมกันกว่าร้อยละ 60 โดย CATL มีส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่ง ด้วยสัดส่วนถึงร้อยละ 37 บริษัทเหล่านี้ มิได้ผลิตแบตเตอรี่ป้อนให้กับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจีนเท่านั้น แต่ล้วนมีเครือข่ายระดับโลก มีผลิตป้อนให้กับค่ายรถยนต์ชั้นนำของโลกด้วย

“เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากทั้วโลก รวมทั้งลดความเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างขั้วมหาอำนาจที่มีแนวโน้มรุ่นแรงขึ้น ซึ่งผู้ผลิตบางส่วนได้เริ่มลงทุน สร้างโรงงานแบตเตอรี่ในโซนยุโรปและสหรัฐอเมริกาแล้ว เป้าหมายต่อไป คือ ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งไทยจำเป็นต้องเร่งดึงการลงทุนและสร้างความร่วมมือกับบริษัทกลุ่มนี้โดยเร็ว”

ที่มา:
https://www.thaipbs.or.th/news/content/339105