ประเพณีบุญบั้งไฟ ร่วมใจกันขอฝน

บุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ

       เป็นประเพณีของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ ช่วงเวลาของประเพณีบุญบั้งไฟคือเดือนหกหรือพฤษภาคมของทุกปี

ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นหนึ่งในจารีตที่ชาวอีสานยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาลอันสำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ เพราะบรรพบุรุษได้สืบทอดประเพณีนี้และร่วมกันอนุรักษ์สืบสานต่อกันมาไว้ให้ลูกหลาน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรักความสามัคคีที่ดีต่อกันของคนในชุมชน แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้กับสภาพอากาศอันแห้งแล้งของท้องถิ่นอีสานเพื่อความอยู่รอด เพราะชาวอีสานมีความเชื่อว่าหากปีไหนไม่มีงานบุญบั้งไฟ ฝนจะไม่ตกตามฤดูกาล

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ปัจจุบันถึงแม้จะมีวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่สามารถสร้างฝนเทียมได้แล้วก็ตาม แต่ลูกหลานของชาวอีสานก็ยังมีการสืบทอดประเพณีบุญบั้งไฟนี้อยู่ และในปัจจุบันงานประเพณีบุญบั้งไฟก็จัดแทบทุกจังหวัดในภาคอีสาน ซึ่งการจัดงานก็ตามแต่ความสะดวกของแต่ละท้องถิ่น บางแห่งก็จัดกันตามที่ว่าการอำเภอหรือจัดตามหมู่บ้าน ซึ่งนิยมจัดกันในเดือน ๖-๗ อาทิ จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร และขอนแก่น เป็นต้น โดยเฉพาะจังหวัดยโสธร ซึ่งจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี

ที่มา :
http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=4941&filename=i
https://th.wikipedia.org/wiki/บุญบั้งไฟ