ตรุษจีน 2567 ศึกคัก! นักท่องเที่ยวจีนแห่เที่ยวไทย

วันนี้ ( 9 ก.พ. 67)  ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อุปนายกและเลขาธิการสมาคมส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีน และรองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน เปิดเผยว่า การเดินทางของคนจีนในปีนี้กลับมาคึกคักเป็นอย่างมาก โดยมีการปรับประมาณการเดินทางเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2 รอบ รอบแรกคาดว่าจะเพิ่มร้อยละ 20 และปรับเป็นเพิ่มร้อยละ 40 หรือ ประมาณ 9,000ล้านครั้งในช่วง 26 ม.ค. 5 มี.ค.2567 นับเป็นการเดินทางที่มากที่สุดของจีน และเป็นการเดินทางครั้งใหญ่ของโลก

สมามคมส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีน ประเมิน ‘ตรุษจีน 2567’ และไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวแดนมังกร ลุ้นทั้งปีเข้าไทยทะลุ 10 ล้านคน

วันนี้ ( 9 ก.พ. 67)  ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อุปนายกและเลขาธิการสมาคมส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีน และรองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน เปิดเผยว่า การเดินทางของคนจีนในปีนี้กลับมาคึกคักเป็นอย่างมาก โดยมีการปรับประมาณการเดินทางเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2 รอบ รอบแรกคาดว่าจะเพิ่มร้อยละ 20 และปรับเป็นเพิ่มร้อยละ 40 หรือ ประมาณ 9,000ล้านครั้งในช่วง 26 ม.ค. 5 มี.ค.2567 นับเป็นการเดินทางที่มากที่สุดของจีน และเป็นการเดินทางครั้งใหญ่ของโลก

สำหรับประเทศไทยยังมีจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีน หลังจากมีการลงนาม ในข้อตกลงวีซ่าฟรี ทำให้การค้าหาเว็บไซต์การท่องเที่ยวยอดนิยมของจีน เข้ามายังจุดหมายปลายทางของไทย เช่น กรุงเทพ เชียงใหม่ ภูเก็ต เพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ประกอบกับความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย หลังจากรัฐบาลไทยส่งสัญญาณบวกในการให้การดูแลเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ดร.ไพจิตร มั่นใจว่า หากไม่มีปัจจัยลบที่คาดไม่ถึงเข้ามา ดูจากบรรยากาศความคึกคักของการเดินทางนักท่องเที่ยวจีนตั้งแต่ต้นปีอย่างนี้อย่างนี้ เชื่อว่า นักท่องเที่ยวจีนเข้าใจจะเป็นไปตามเป้าหมายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ที่ 8.5 ล้านคน และมีโอกาสจะเห็นตัวเลขกลับไปใกล้เคียงก่อนโควิด-19 ที่ประมาณ 11 ล้านคนได้

ส่วนความกังวลด้านกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวจีน ดร.ไพจิตร มองว่า พฤติกรรมของคนจีน มีการออมมากขึ้น เมื่อบรรยากาศทางเศรษฐกิจดีขึ้น ชาวจีนพร้อมจับจ่ายใช้สอย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินทางท่องเที่ยว ใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปีหน้าจะครบ 50 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน ยิ่งมีโอกาสให้การเดินทางเข้าไทย และใช้จ่ายมากขึ้นด้วย

สำหรับประเด็นการค้าและการลงทุน ดร.ไพจิตร ระบุว่า ท่ามการลงครามการค้า และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ประเทศไทยควรปรับตัวเพื่อเดรียมความพร้อมในการดึงดูดการลงทุน เตรียมอุปทานเพื่อรออุปสงค์ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน เช่น บุคลากร ที่ยังมีปัญหาขาดแคลนใน อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ,ความสะดวกในการทำธุรกิจ การติดต่อประสานงานหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น

ที่สำคัญจีนมีศักยภาพในการเจริญการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกมาก และธุรกิจของไทย โดยเฉพาะรายใหญ่ ควรหาช่องทางเข้าไปลงทุนในประเทศจีนมากขึ้น เพื่อเติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจจีน

ที่มา:
https://www.tnnthailand.com/news/wealth/161448/