สนค.เผย ไทยส่งออกแป้งมัน ไตรมาส 1.8 หมื่นล้านบาท ขยาย 49% ตลาดจีนรับเบอร์ 1 คู่ค้าไทย แนะรัฐบาลควรเร่งหนุนงานวิจัยและพัฒนาพันธ์ หวังดันรายได้ให้ชาวไร่มันฯ กว่า 7แสนรายพุ่ง
วันนี้ (16 พ.ค 2567) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การส่งออกแป้งมันสำปะหลังดิบ มีมูลค่า 18,116.19 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 49.12 แป้งมันสำปะหลังแปรูป มีมูลค่ารวม 8,578.13 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 4.99
แม้ว่าผลิตภัณมันสำปะหลังของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 ( ม.ค.-มี.ค. ) มูลค่าการส่งออกรวม 33,167.38 ล้านบาท หดตัว ร้อยละ 16.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเกิดจากปริมาณการส่งออกมันเส้นลดลง
ข้อมูลจาก Global Trade Atlas ภาพรวมการส่งออกสินค้ามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ของโลก ในช่วงต้นปี ไทยยังคงครองส่วนแบ่งตลาดโลกเป็นอันดับ 1 โดยมีส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 18.70 ของมูลค่าการส่งออกของทั้งโลก รองลงมาได้แก่ เวียดนาม ลาว สหรัฐอเมริกา และจีน
สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ จีน ซึ่งไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งหมดไปตลาดจีนถึงร้อยละ 48.00 ของมูลค่าการส่งออกจากไทยไปโลก และไทยเป็นแหน่งนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอันดับหนึ่งของจีน (ไทยมีส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 48.87 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งหมดของจีน)
ส่วนตลาดส่งออกที่สำคัญอื่นๆ ของไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย (ร้อยละ 12.82 ของมูลค่าการส่งออกของไทยไปโลก) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 9.99) ไต้หวัน (ร้อยละ 5.44) และมาเลเซีย (ร้อยละ 3.73)
สำหรับผลผลิตปี 2567 โดยทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่ ต.ค.2566ไปจนถึง ก.ย.2567 โดยมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 3,096 กิโลกรัม/ไร่ (ลดลง ร้อยละ 6.27 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า) และคาดว่าตลอดปี2567 จะมีผลผลิต 26.88 ล้านตัน (ลดลง ร้อยละ 12.21เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า)
ผอ.สนค. กล่าวอีกว่า แป้งมันสำปะหลังใช้เป็นวัตถุดิบในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม ยา กระดาษ สิ่งทอ กาว หรือเอทานอล และยังเป็นแป้งที่ปราศจากกลูเตนตามธรรมชาติ จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพ มีจุดเด่นนี้จึงช่วยเพิ่มคุณค่าและมูลค่าทางการตลาดให้กับแป้งมันสำปะหลัง
โดยเฉพาะในอุสาหกรรมอาหาร ขณะเดียวกัน แป้งมันสำปะหลังเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมหลากหลาย ทนความความแห้งแล้ง ทำให้มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจในด้านการรักษาความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น
หากรัฐบาลเร่งสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาพันธุ์ที่ทนโรค และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น พร้อมกับส่งเสริมการพัฒนา ต่อยอดผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง ที่หลากหลายด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ก็จะช่วยยกระดับรายได้เกษตรกรกว่า 7 แสนครัวเรือน
สำหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการ สามารถดำเนินการตามแนวปฏิบัติด้านการเกษตรที่ยั่งยืน เพื่อช่วยลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้ความสำคัญกับการจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลาย เพื่อให้มีวัตถุดิบป้อนเข้าสู่กระบวนการแปรูปได่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งใช้ประโยชน์จากข้อมูลสภาพภูมิอากาศ
การพยากรณ์อากาศ และเทคโนโลยีด้านการเกษตรขั้นสูง เช่น โดรน เซ็นเซอร์ และภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อประกอบการตัดสินใจเพาะปลูก การบริการจัดการน้ำ การจัดการศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยว
ตลอดจนใช้เครื่งมือในการจัดการความเสี่ยงและการประกันภัย เช่น การประกันพืชผล และการกระจายความหลากหลายของ พันธุ์พืชที่ปลูก เพื่อลดความสูญเสียจากภัยพิบัติทางสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบัน