“แพ ทองธาร” ใส่เสื้อลายสมิหลา ถก ครม.สัญจร เตรียมเคาะงบกว่า 300 ล้าน ฟื้นฟูน้ำท่วมใต้

นายกฯ แพทองธารสวมเสื้อบาติก ลายสมิหลา นำรัฐมนตรีประชุม ครม.สัญจร .สงขลา จับตาเทงบช่วยฟื้นฟูน้ำท่วมภาคใต้ วงเงินกว่า 300 ล้านบาท สั่งติดตาม GDP ไทยใกล้ชิด

     วันที่ 18 .. 2568 ศูนย์ประชุมนานาชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีประชุมนอกสถานที่อย่างเป็นทางการที่จังหวัดสงขลา โดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้สวมใส่เสื้อผ้าบาติกลายสมิหลา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากรูปปั้นนางเงือกทอง ชายหาดสมิหลาอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา

      ทันทีที่นายกฯมาถึง ได้พบประชาชนที่มาให้กำลังใจ ก่อนเยี่ยมชมบูธสินค้าโอทอป โดยนายกฯได้อุดหนุนกระเป๋าที่ทำจากใยตาล ของกลุ่มหัตถกรรมใยตาลสทิงพระ (กลุ่มโหนดทิ้ง) โดยกล่าวว่า จะเอาไว้ใส่เอกสารไปประชุมที่เมืองนอกได้ และได้เยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าสะพานพลา เด็กทอผ้า และได้พูดคุยกับเด็กที่มาสาธิตการทอผ้าว่าเก่งมากเลย ถ้าพี่ทำต้องใช้เวลานานมาก จากนั้นชมนิทรรศการผลงานวิชาการ และชมการแสดงมโนราห์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา พร้อมถ่ายภาพเซลฟี่กับนักศึกษาที่มารอต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ก่อนนายกฯถ่ายภาพร่วมกับ ครม. ผู้ว่าราชการจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และผู้แทนภาครัฐสำหรับวาระการประชุม ครม. นอกสถานที่จะมีการพิจารณาโครงการต่างๆที่จะช่วยเหลือพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย 5 จังหวัด ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุงสุราษฎร์ธานี และสงขลา อาทิ การฟื้นฟูสาธารณูปโภคน้ำท่วม 3 จังหวัดชายแดนใต้ วงเงิน 304 ล้านบาท แผนอนุรักษ์โลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลา (.. 2567-2571) วงเงิน 402 ล้านบาทการให้ทุนนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย วงเงิน 32 ล้านบาท การจัดเที่ยวบินขนส่งผู้แสวงบุญพิธีฮัจญ์ รวมถึงโครงการรถไฟทางคู่ เชื่อมไทยมาเลเซีย และโครงการแลนด์บริดจ์

       นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาโครงการที่ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยเสนอมาทั้ง 12 โครงการ วงเงิน 300 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยเสนอเข้ามา 2 โครงการ วงเงิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 10 โครงการ เป็นโครงการของ 5 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี และสงขลา ซึ่งเสนอขอโครงการจังหวัดละ 50 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 250 ล้านบาท อาทิ โครงการพัฒนาระบบ Soft Power เพื่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์, โครงการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวตลาดท่องเที่ยว มหกรรมอาหาร และสตรีทฟู้ด, โครงการพัฒนาศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารภาคใต้ ครัวใต้สู่ครัวโลก

       ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางจังหวัดยังได้จัดอาหารว่างต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี อาทิ ลูกพลับเมล่อน ขนุนตาล ลูกชุบ สาคูเห็ดหอม ขณะที่อาหารกลางวันเป็นอาหารขึ้นชื่อของจังหวัด เช่น แกงคั่วปูใบชะพลู ไข่พะโล้ ผัดผักรวมกุ้ง

        จากนั้นนายกรัฐมนตรีเปิดการประชุม รับรายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ไตรมาส 4 ของปี 2567 ได้สั่งการภายหลังจากการลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุม ครม. นอกสถานที่ครั้งที่ 2 ของรัฐบาล และนับเป็นครั้งแรกของปีนี้

       นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การรายงานตัวเลขเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 2567 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2568 โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4 มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยขยายตัว 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงผลของมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ดำเนินการตลอดมา

       อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะตัวเลขการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น แต่การใช้กำลังการผลิตในประเทศ (Capital Utilization) กลับลดลง จึงขอให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกันเร่งหามาตรการป้องกันปัญหาดังกล่าวอย่างเร็วที่สุดทั้งนี้ จากการที่เมื่อวานนี้ลงพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดพัทลุงและสงขลาก่อนมาประชุมจึงได้รับฟังปัญหาจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงขอสั่งการดังนี้

1. ขอให้กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ เร่งหาแนวทางสนับสนุนการปลูกกล้วยสายพันธุ์ของพัทลุงและทุเรียนภูบรรทัด ทั้งในด้านส่งเสริมการเพาะปลูกให้แพร่หลาย รวมทั้งการหาตลาดรองรับผลผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าในชุมชนให้มากขึ้น

2. พื้นที่ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง มีศักยภาพสูงทั้งด้านการท่องเที่ยวและการประมง ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้ประชาชน โดยทางจังหวัดและภาคเอกชนมีข้อเสนอให้ขุดลอกทะเลน้อย กำจัดวัชพืชต่างๆ ฟื้นฟูนิเวศ คืนธรรมชาติ พร้อมฟื้นการประมงและส่งเสริมอาชีพให้กับท้องถิ่น

โดยขอให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้

1. ขอให้กระทรวงทรัพยากรฯ ศึกษาและกำหนดแนวทาง พร้อมทั้งจัดเตรียมงบประมาณที่จำเป็นสำหรับดำเนินการ

2. ขอให้กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมงและกระทรวงทรัพยากรฯ หามาตรการในการสนับสนุนและให้ความรู้ทางวิชาการอย่างถูกต้อง สำหรับการทำประมงในพื้นที่จังหวัดสงขลา เช่น การเลี้ยงปลาดุกนา ทั้งในส่วนของระบบการหมุนเวียนน้ำและพันธุ์ปลา เพื่อยกระดับให้มีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น

3. ขอให้กระทรวงท่องเที่ยวฯ ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้มากขึ้นด้วย

4. ขอให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เร่งหามาตรการในการเพิ่มแสงสว่างให้กับสะพานเฉลิมพระเกียรติ80 พรรษา เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทาง และไม่กระทบต่อระบบนิเวศ โดยอาจจะศึกษาการใช้ระบบโซลาร์เซลล์เข้ามาประกอบ

5. การเยี่ยมชมกลุ่มบริษัท ไทยยูเนียน ที่ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในการส่งออกอาหารทะเลไปต่างประเทศโดยมีข้อเสนอสำคัญที่จะขอให้กรมประมงส่งเสริมการวิจัยพัฒนาพันธุ์กุ้งอย่างจริงจัง ฟื้นฟูความเข้มแข็งด้านการเลี้ยงกุ้งเพื่อการส่งออก ที่ไทยเคยเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอีกครั้ง

6. ตัวเมืองจังหวัดสงขลามีศักยภาพสูงด้านการท่องเที่ยวเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ (Cruise) ขอให้กระทรวงคมนาคมเร่งศึกษาการก่อสร้างท่าเทียบเรือสำราญ และขอให้กระทรวงท่องเที่ยวฯ ร่วมกับท้องถิ่น พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพในการเป็นศูนย์กลางการประสานหน่วยงานต่างๆ ที่จะลงมาร่วมพัฒนาด้วย

มื้อเที่ยงจัดเต็มแกงคั่วหัวโหนด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม ครม. มีรัฐมนตรีลา 5 คน คือ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง2. นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา 3. นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ นายสุชาติ ชมกลิ่นรมช.พาณิชย์ และ 5. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม อย่างไรก็ตาม ในการประชุม ครม. ครั้งนี้ ทางจังหวัดได้จัดเมนูอาหารกลางวันเลี้ยง ครม. อาทิ แกงคั่วหัวโหนด (ลูกตาล) ปลากระบอกทอดขมิ้น กุ้งซอสมะขาม หมึกไข่ต้มหวาน ใบเหลียงผัดไข่ น้ำพริกกุ้งสด แกงส้มปลากะพงมะม่วงเบา และไก่ทอดหาดใหญ่ ส่วนอาหารว่างข้าวต้มสามเหลี่ยมใส่ไส้ โรตีมะตะบะ ขนมไข่สงขลา ขนมปำ มะม่วงเบาแช่อิ่ม เครมบรูเล่ตาลโตนด และผลไม้ส้มจุก

อ้างอิง:https://www.thairath.co.th/news/politic/2842496