“ไทย-จีน” ตั้งเป้าการยกระดับความร่วมมือเชิงนโยบาย

ไทย-จีน ตั้งเป้าการยกระดับความร่วมมือเชิงนโยบายและผลักดัน ไปสู่กิจกรรมความร่วมมือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปสู่ผลประโยชน์ในระดับอาเซียน โดยในการพบปะหารือระหว่างศาสตราจารย์พิเศษเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และวัฒนธรรม (อว.) ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศิริฤกษ์ ทรงษศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. และคณะ กับ  H.E. Mr. Wang Zhigang รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีนและคณะ

ไทย-จีน ตั้งเป้าการยกระดับความร่วมมือเชิงนโยบายและผลักดันไปสู่กิจกรรมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตย์และเทคโนโลยี

ไทย-จีน ตั้งเป้าการยกระดับความร่วมมือเชิงนโยบายและผลักดัน ไปสู่กิจกรรมความร่วมมือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปสู่ผลประโยชน์ในระดับอาเซียน โดยในการพบปะหารือระหว่างศาสตราจารย์พิเศษเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และวัฒนธรรม (อว.) ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศิริฤกษ์ ทรงษศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. และคณะ กับ  H.E. Mr. Wang Zhigang รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีนและคณะ

 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาร่วมกันของประชาคมโลก ที่มีอนาคตร่วมกัน เช่น การขจัดความยากจนโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติ เป็นต้น ทั้งนี้ ฝ่ายไทยยินดีรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STI Forum) ระหว่างสองประเทศ ในปี 2568 เนื่องในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ครบรอบ 50 ปี มนปี 2568 ซึ่งฝ่ายจีนได้แสดงความยินดี และตอบรับข้อเสนอมาร่วมการประชุมดังกล่าว ณ ประเทศไทย นอกจากนี้ ในการดำเนินความร่วมมือระดับภูมิภาค ฝ่ายไทยได้แสดงให้ฝ่ายจีนเห็นว่าไทยยินดีเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงสมาชิกอาเซียนกับจีนอีกด้วย

ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแนวทางการดำเนินความร่วมมือในอนาคตอันใกล้ 4 แนวทาง ได้แก่

1)การจัดประชุมร่วม (Joint Meeting) ภายใต้กรอบข้อตกลงว่าด้วยความร่ววมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 ในรูปแบบ offline    2)การจัดทำและสนับสนุนโครงการวิจัยร่วมโดยเน้นด้าน Digital เพื่อสุขภาพ   3)ความร่วมมือเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาห้องทดลอง (Lap) การถ่ายโอนเทคโนโลยี และอุทยานวิทยาศาสตร์   4)การสารต่อและส่งเสริมการประสานงานภายใต้กรอบความร่วมมือพหุภาคีต่าวๆ เช่น กรอบจีน-อาเซียน สหประชาชาติ แม่โขงล้านช้าง และลุ่มแม่น้ำโขง ให้เป็นไปอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี

ที่มา:
https://www.mhesi.go.th/index.php/pr-executive-news/8587-2023-02-13-07-53-07.html