“ไทย-จีน” แลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนมาร่วมงาน พร้อมกล่าวปาฐกถาในการสัมมนา “ส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจีน (เหอหนาน) - ไทย เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-จีน ด้านการค้าการลงทุน แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับมณฑลเหอหนาน โดยมี Mr.sun Shougang (ซุน โซวกัง) กรรมการประจำคณะกรรมการกรมการเมืองถาวร มณฑลเหอหนานของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองผู้ว่ามณฑลเหอหนาน เป็นประธาน ณ โรงแรม ดิ แอทธินี แบงค็อก กรุงเทพฯ

รองปลัดฯ บรรจง ร่วมงานสัมมนา “ส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยว และวัฒนธรรมจีน (เหอหนาน) – ไทย แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนมาร่วมงาน พร้อมกล่าวปาฐกถาในการสัมมนา “ส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจีน (เหอหนาน) – ไทย เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-จีน ด้านการค้าการลงทุน แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับมณฑลเหอหนาน โดยมี Mr.sun Shougang (ซุน โซวกัง) กรรมการประจำคณะกรรมการกรมการเมืองถาวร มณฑลเหอหนานของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองผู้ว่ามณฑลเหอหนาน เป็นประธาน ณ โรงแรม ดิ แอทธินี แบงค็อก กรุงเทพฯ

รองปลัดฯ กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้พบปะหารือกับท่านซุน  โซวกัง รวมทั้งได้ร่วมงานในวันนี้ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีต่อการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือของไทยและจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกระชับความร่วมมือกับมณฑลเหอหนาน ซึ่งเป็นมณฑลที่มีความน่าสนใจ มีความล้ำหน้าในทางเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของจีน

ประเทศจีนถือเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของประเทศไทย มีการติดต่อเป็นเวลากว่า 11 ปี ภายใต้การนำของท่านประธานาธิบดี สี จิ้นผิง มีการประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2564-2568 เน้นให้ความสำคัญกับการปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจเป็นรายมณฑล รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ประเทศจีนและประเทศไทย มีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนาน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การค้า และการลงทุน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้ พัฒนาอย่างก้าวหน้า นำมาซึ่ง “การเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน” ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “นโยบายจีนเดียว”  คือ การมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน เคารพซึ่งกันและกัน และคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงมีวิสัยทัศน์ด้านสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในส่วนของประเทศไทย สภาพพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ปี 2566 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2567 ของไทย โดยส่วนหนึ่งของรายงานดังกล่าวระบุถึงสถานการณ์การลงทุน โดยเฉพาะแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) สำหรับกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยที่เป็นบริษัทรถจากประเทศจีน ทั้งนี้หากกำลังการผลิตของโรงงานรถยนต์ไฟฟ้า สามารถผลิตได้ตามเงื่อนไขของมาตรการจะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนไฟฟ้าที่สำคัญของโลกได้

โดยนโยบาย EV 3.0 จนมาถึง EV 3.5 รัฐบาลยังมีการเดินหน้าตามแผน และมาตรการช่วยเหลือนักลงทุน และมีมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้นโดยในปัจจุบันรถไฟฟ้าจากจีนสามารถทำตลาดที่ไทยได้อย่างต่อเนื่องและมีท่าทีที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เห็นได้จากยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า จากจีนที่เพิ่มขึ้นในงานมหกรรมยานยนต์ต่างๆ

ด้านการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดเตรียมพื้นที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานระดับโลก ปรับปรุงขั้นตอนและลดระยะเวลาในการจัดทำรายงานและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) บนมาตรฐานการพิจารณาที่รัดกุม และได้กำหนดแนวทางและมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริม สนับสนุนเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ผู้พัฒนานิคมและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในการแข่งขันกับประเทศต่างๆ อาทิ ดูแลเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินในการทำนิคม อุตสาหกรรม การจัดการระบบน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม และพลังงานหมุนเวียน

ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมขอขอบคุณผู้ประกอบการจากจีนที่ให้ความสำคัญกับประเทศไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และประเทศไทยมีความพร้อมในการรองรับการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะจากประเทศจีน ขอให้ทุกท่านเชื่อมั่นในการเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญในแง่ของการลงทุนใหม่และการขยายการลงทุนเพิ่มเติม

ที่มา:
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/82402