สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ NAIกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและวัฒนธรรม(อว.)ร่วมกับสมาคมและวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าว่า แม้สถานการณ์เศรษฐกิจของจีนจะเผชิญกับความท้าทายหลายประการ แต่ตัวเลขค่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP Growth) ของปี 2566 ยังสามารถขยายตัวได้ถึง ร้อยละ 5.2 ซึ่งเป็นไปตามคาดของรัฐบาลที่ตั้งที่ตั้งไว้ร้อยละ 5 จึงสร้างความมั่นใจให้กับทั่วโลก ถึงโอกาสการเติบโตของจีนทั้งจากปัจจัยการพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ การส่งออก และการพัฒนา เรื่องเทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม อีกทั้งยังมีปัจจัยสำคัญคือ การเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา การมีกำลังซื้อ เบอร์ 1 ของโลกที่ตอกย้ำว่าจีนเป็นตลาดที่มีความสำคัญมากต่อการส่งออกของหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย
“ซึ่งหากดูจากผลการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรม Global Innovation Index (GII) 2023 ที่ระบุว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่อันดับที่ 12 จาก 132 ประเทศทั่วโลก โดยจีนมีผลผลิตทางนวัตกรรม (Innovation Output) เป็นอันดับที่ 8 และปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม (Innovation Input) อยู่อันดับ 25 ของโลก และยังถูกจัดอันดับคลัสเตอรืในกลุ่มของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำหน้าสหรัฐอเมริกา มีผู้ลงทุนและนักวิทยาศาสตร์ในประเทศเป็นจำนวนมาก รวมทั้งผู้มีอุทยานวิทยาศาสตร์และศูนย์กลางนวัตกรรมที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมาจีนยังได้มีการประกาศเป้าหมายการเป็นเจ้านวัตกรรมโลกขับเคลื่อนการบริโภคด้วยนวัตกรรมไฮแทค รวมถึงการเพิ่มงานวิจัยและบุคลากรที่มีทักษะขั้นสูงเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมใหม่ๆ จากความเด่นชัดเหล่านี้จึงเป็นโอกาสสำหรับไทยในการนำเสนอนวัตกรรมที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในจีน รวมถึงการเรียนรู้ทักษะจำเป็นในฐานะประเทศชั้นนำด้วยนวัตกรรมโลก
ดร.กริชผกา กล่าวว่า NIA เล็งเห็นความสำคัญและโอกาสในการสร้างพันธมิตรทางนวัตกรรมกับจีนจึงได้ร่วมกับสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เครือข่ายนวัตกรรม สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ และเจ้าของธุรกิจ เชื่อมโยงกับคู่ค้าจีนผ่านโปรแกรม The Dragon เพื่อส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมระหว่างไทย-จีน เน้นส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และส่เสริมนวัตกรรมระดับชาติ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมไทยได้สัมผัสกับวัฒนธรรมไทยจีน และสร้างสัมพันธ์ที่ยั่งยืน จนสามารถนำไปต่อยอดธุรกิจของตนได้ เกิดเครือข่ายผู้นำธุรกิจนวัตกรรมไทย-จีน และนำไปสู่ความร่วมมือที่เกิดประโยชน์มากมายสำหรับทั้งสองประเทศในอนาคต อีกทั้งยังจะทำให้เข้าใจถึงข้อมูลเกี่ยวกับตลาด คู่แข่ง ลุกค้าในจีน แนวทางการหาพันธมิตรในท้องถิ่น ข้อกฏหมายจีน รวมทั้งช่วยชี้ช่องโอกาสสำหรับธุรกิจนวัตกรรมที่ต้องการเติบโตในต่างประเทศ
แม้ว่าจีน จะมีนโยบายการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยี แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงโอกาสของกลุ่มสินค้าที่ไทยยังคงสามารถส่งออกหรือทำตลาดในจีน ได้อย่างต่อเนื่องคือกลุ่มสินค้าเกษตรและเกษตรแปลรูป อาหารพร้อมรับประทาน สินค้าสุขภาพและความงาม สินค้าโอทอป ซึ่งเหล่านี้เป็นสินค้าที่จีนยังไม่สามารถผลิดได้อย่างเพียงพอ แต่สินค้าเหล่านี้ควรผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์-บรรจุภัณฑ์ ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีนที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งควรใช้นวัตกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบ และสอดรับกับตลาดที่แข่งขันกันด้วยเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในส่วนของสินค้านวัตกรรมขั้นสูงที่มีโอกาสทำตลาดในจีนได้คือ นวัตกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตอุตสาหกรรมชั้นสูง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบคอมพิมเตอร์ แผงวงจรรวมที่นำไปใช้กับยายนต์ รวมทั้งการผลิตยางรถยนต์ไฟฟ้า
ด้าน รศ. ดร.โภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน กล่าวว่า สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน มุ่งพัฒนาความสำพันธ์ระหว่างประเทศไทยและจีน ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2536 ภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการร่วมมือเพื่อความสงบและเสถียรภาพของภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับสูง และเป็นสะพานเชื่อมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและทางการทูตทางเศรษฐกิจ เพราะความสำเร้จในการทำธุรกิจกับจีน ไม่สามารถเกิดได้จากการเจาะตลาดอย่างผิวเผิน แต่ต่องอาศัยความเข้าใจทางวัฒนธรรมและสร้างความไว้ใจอย่างแท้จริง
การสนับสนุนจาก NIA ถือเป็นหุ้นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมระดับประะเทศ เป็นการเปิดตัวความร่วมมือใหม่ที่จะยกระดับความสัมพันธ์ไทย-จีนไปอีกขั้นด้วยโปรแกรม The Dragon ที่ถูกออกแบบมาไม่เพียงแต่เน้นย้ำการสร้างเครือข่ายการค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยเปิดประสบการณ์การค้าและการลงทุนในจีนสำหรับนักธุรกิจไทย และสร้างความเข้าใจวัฒนธรรมและการสร้างความสัมพันธ์ในระดับที่ลึกซึ่งยิ่งขึ้น ตามแบบฉบับของจีนที่ยึดหลักครอบครัวและมิตรภาพก่อนการค้า