TSC Trade จัดกิจกรรม Business matching จับคู่นักธุรกิจไทย-จีน “ชี้โอกาสธุรกิจสูง สินค้าไทยเป็นที่นิยม”

ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ด้านการค้ากับจีนยาวนานหลายทศวรรษ โดยจีนถือเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยมาโดยตลอด ไทยกับจีนมีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงสุดติดต่อกันถึง 11 ปี ตั้งแต่ปี 2566 ถึงปัจจุบัน โดยตลาดการส่งออกสินค้าไปจีนของไทยที่สำคัญ อยู่ในภูมิภาคจีนตอนใต้ซึ่งมีประชากรกว่า 600 ล้านคน

คณะอนุกรรมการการค้าชายแดนและค้าขามแดน ด้านจีนตอนใต้ สภาหอการค้าไทย หรือ TSC Trade จัดกิจกรรม Businee matching จับคู่นักธุรกิจไทย-จีน แสวงหาโอกาสทางธุรกิจจีนตอนใต้ เจาะ ตลาด 600 ล้านคน “เชาว์ชัย” ชี้โอกาสธุรกิจสูง สินค้าไทยเป็นที่นิยม เศรษฐกิจจีนฟื้น ตลาดขยายตัวเร็ว

ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ด้านการค้ากับจีนยาวนานหลายทศวรรษ โดยจีนถือเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยมาโดยตลอด ไทยกับจีนมีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงสุดติดต่อกันถึง 11 ปี ตั้งแต่ปี 2566 ถึงปัจจุบัน โดยตลาดการส่งออกสินค้าไปจีนของไทยที่สำคัญ อยู่ในภูมิภาคจีนตอนใต้ซึ่งมีประชากรกว่า 600 ล้านคน

จากโอกาสทางธุรกิจ และการค้าที่เปิดกว้างในพื้นที่จีนตอนใต้ทำให้ คณะอนุกรรมการการค้าชายแดนและข้ามชายแดน ด้านจีนตอนใต้ (Thai-South China Trade) หรือ “TSC Trade” หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้จัดงาน “TSC trand Exclusive Dinner Talk 2024” เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 ที่ผ่านมาโดยมีนักธุรกิจ นักลงทุนทั้งชาวไทย ชาวจีน และนักลงทุนต่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานตัวแทนราชการ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานกว่า 200 คน

นายเชาว์ชัย เจี่ยมวิจิตร ประธานคณะอนุกรรมการการค้าชายแดนและข้ามแดนด้านจีนตอนใต้ (TSC Trade) หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าการจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เป็นการทำความรู้จักและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจ และธุรกิจจีน ซึ่งการพบหารือกันในครั้งนี้คาดว่าจะนำไปสู่ความร่วมมือของภาคคเอกชน และการจับคู่ธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจจีน โดยภายในงานมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และสื่อมวลชนจากจีน ซึ่งถือว่าผู้เข้าร่วมในงานนั้นครบเครื่ององค์ประกอบที่ส่งเสริมการค้าไทยกับจีน TSC Trade จะช่วยให้การอำนวยความสะดวก และประสานงานภาคธุรกิจเพื่อให้เกิดการจับคู่ธุรกิจต่อไปในอนาคต

ด้าน นายไพรัช บูรพชัยศรี รองประธานคณะกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เนื่องจากทางหอการค้าไทยอยากให้เห็นความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในทางธุรกิจเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจมีการแข็งขันกันสูงมาก และมีความท้าทายในหลายๆด้านโดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจพึ่งจะฟื้นตัวจากโควิด-19 อัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยสูงมาก ทำให้การบริหารธุรกิจมีความยากลำบาก ขณะที่นวัตกรรมต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็ว ทำให้การทำธูรกิจมีการเปลี่ยนสภาพไป ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการต้องมีความร่วมมือกันมากขึ้น นอกจากนั้นเวทีในลักษณะนี้ยังช่วยให้นักธุรกิจทั้งสองประเทศมีความรู้เกี่ยวกับหารค้า และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนๆ ในการทำธุรกิจที่น่าสนใจ 

ปัจจุบันธุรกิจและสินค้าไทยได้รับการยอมรับสูงจากตลาดจีนทำได้ เช่น เรื่องอาหาร การเกษตร การท่องเที่ยว และสุขภาพ ซึ่งมีหลายธุรกิจที่มีการเปิดกว้างมากในจีนที่นักธุรกิจไทยจะไปร่วมมือได้ โดยเฉพาะนักธุรกิจรุ่นใหม่ ซึ่งหอการค้ามีกลุ่มนักธูรกิจรุ่นใหม่ “young  Entrepreneurs Chamber of Commerce หรือ “YEC” ซึ่งเราก็สนับสนุนให้นักธุรกิจรุ่นใหม่ไปหาช่องทางความร่วมในธูรุกิจที่เป็นนวัตกรรม และดิจิทัล ซึ่งมีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งหอการค้าก็จะมีการสนับสนุนในส่วนนี้มากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความร่วมมือกันในหลายๆด้านมากขึ้น

ทั้งนี้การสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายที่ดีแบบที่สภาหอการค้าฯผลักดัน เช่น การเปิดให้นักศึกษาจากจีนเข้ามาเรียนที่ ม.หอการค้าซึ่งเป็นการสร้างพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ (Business partner) ที่สามารถความร่วมมือต่อไปได้ในระยะยาวในการไปลงทุนในจีน เช่นเดียวกับที่เราก็เปิดให้จีนเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของเราเช่นกัน ซึ่งทำให้ฐานธุรกิจของนักธุรกิจทั้งสองประเทศขยายเพิ่มมากขึ้นด้วย

“ทั้งนี้การสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายที่ดีแบบที่สภาหอการค้าฯผลักดัน เช่น การเปิดให้นักศึกษาจากจีนเข้ามาเรียนที่ ม.หอการค้าซึ่งเป็นการสร้างพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ (Business partner) ที่สามารถความร่วมมือต่อไปได้ในระยะยาวในการไปลงทุนในจีน เช่นเดียวกับที่เราก็เปิดให้จีนเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของเราเช่นกัน ซึ่งทำให้ฐานธุรกิจของนักธุรกิจทั้งสองประเทศขยายเพิ่มมากขึ้นด้วย”

ที่มา:
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1124628