เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ2 ของโลก ซึ่งกำลังมีเป้าหมายพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 10 ประเทศอาเซี่ยน และ 15 ประเทศหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)
ล่าสุดมีรายว่า ประเทศไทยมีแนวความคิดที่จะร่วมมือกับจีนในการเจาะตลาดพลังงาน และดิจิทัลใหม่ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหว ที่จะยกระดับความร่วมมือในทวีภาคีไปสู่มิติใหม่ นอกเหนือจากการท่องเที่ยวการค้าผลไม้
อรรณยุทธ์ ศรีสมุทร เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า รัฐบาลไทยกำลังมุ่งเน้น ไปที่อุตสาหกรรมใหม่และผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม รวมถึงกำลังแสวงหาการลงทุนร่วมกับบริษัทจีนใน ธุรกิจกังหันลม เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่ประเทศต่างๆ เช่น ลาว และเวียดนาม
“นี่คือตัวอย่างการดำเนินการที่นักธุรกิจไทยกำลังดำเนินการเพื่อช่วยเหลือประเทศที่สาม ในด้านพลังงานใหม่” อรรถยุทธ์กล่าว
เมื่อกล่าวถึงความเชื่อมโยงทางประวัตศาสตร์ อรรถยุทธ์ได้กล่าถึงศักยภาพในการร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจของจีน ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญในภาคใต้ของจีน และเป็นฐานของการพัฒนาพลังงานใหม่และอุตสาหกรรมดิจิทัล
เขตพัฒนาเศรษฐกิจ Greater Bay Area นั้นประกอบด้วย ฮ่องกง มาเก๊า และ 9 เมือง บนแผ่นดินใหญ่ บริเวณอ่าวกวางตุ้งและลุ่มแม่น้ำไข่มุก ซึ่งรวมถึงเสินเจิ้นและกวางโจว โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางการเติบโตและนวัตกรรมชั้นนำของจีน และเป็นศูนย์รวมของแบรนด์ชั้นนำ เช่น ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคม อย่างหัวเว่ย ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานใหม่ BYD ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี Tencent และผู้ผลิตโดรน DJI
ข้อมูลที่น่าสนใจคือ ภูมิภาคอาเซียนเป็นปลายทางการส่งออกสินค้าบริการที่ใหญ่ที่สุดของจีน ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2023 นี้ แซงหน้าตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป อีกทั้งผู้ผลิตจีนกำลังสร้างโรงงานหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริษัทเทคโนโลยีของจีนหลายแห่ง ได้ขยายตลาดในภูมิภาาคนี้
สำหรับประเทศไทยเอง มีเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน เดิมที่เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยม สำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนอยู่แล้ว โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนมาเยือน 5 ล้านคนในปีนี้ และเป็นแหล่งสำคัญ ในการส่งออกข้าวและผลไม้เมืองร้อนมายังจีน
นอกจากนี้ไทยยังเป็นพันธมิตรหลักของจีนในการพัฒนาเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงทั่วเอเชียที่จะขยายจากคุณหมิง เมืองหลวงของมณฑลยูนนานของจีนไปยังสิงคโปร์
ในส่วนของอุตสาหกรรมดิจิทัล อรรถยุทธ์ กล่าวว่า คนไทยยังคงพึ่งพาเงินสดและบัตรเครดิตเป็นหลักในการชำระเงิน และใช้ดินสอหรือสีน้ำในการออกแบบ ซึ่งทำให้มีลักษณะเป็นประเทศที่ยังคงมีวิถีดั้งเดิมเอาไว้ทำให้มีโอกาสใน “การเรียนรู้ในแง่ของการใช้แนวคิดดิจิทัลจากจีนอย่างเต็มที่”
ในการประชุมกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศจีน หนง หรง เมื่อเดินมีนาคมที่ผ่านมา อรรถยุทธ์ กล่าวว่า การกลับมาดำเนินการแลกเปลี่ยนอย่างรอบด้านระหว่าง ทั้งสองประเทศในทุกระดับจะ “กระชับการประสานงานและความร่วมมือในด้านพหุภาคีรวมถึงความร่วมมือระดับภูมิภาคให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น”